หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ชื่นชอบในการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ ต้องไม่พลาดที่จะไปเที่ยวยัง 4 สถานที่ที่จะได้รีวิวต่อไปนี้ ที่จะทำให้คุณและคนที่คุณพาไปด้วยนั้นได้ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์ของไทย และเสน่ห์ของวัฒนธรรม ที่คุณต้องประทับใจอย่างไม่รู้ลืมเลยทีเดียวครับ

 

พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

สถานที่แรกที่ถือว่าเป็น ไฮไลท์หนึ่งในการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์นั่นคือ พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ที่รวมเอาสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ไว้ที่นี่และเชื้อเชิญให้คุณได้ไปสัมผัสการประสบการณ์ การแสดงแสงสีเสียง สุดอลังการ และการนำเสนอประวัติศาสต์ของประเทศไทยในทุกภาคและทุกแง่มุมอย่างน่าสนใจเลยทีเดียวครับ

พิพิธพันธ์ประวัติศาสตร์

 

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

จุดที่สองคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น เป็นต้นกำเนิดของการรวบรวม เรื่องราวต่างๆของประเทศไทยไว้ ณ ที่นี่ มีทั้งอุปกรณ์ต่างๆในงานพระราชพิธี และอื่นๆ เครื่องทรง เครื่องใช้ เสื้อผ้าและอื่นๆอีกมากมาย ที่อยู่ที่นี่ ดังนั้นคุณสามารถ ดื่มด่ำไปกับบรรยากาศ และมนต์ขลังของสถานที่ได้เสมอครับ

พิพิธพันธ์ประวัติศาสตร์

 

วังสวนผักกาด

เดิมเป็นสวนผักกาด เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 6 ไร่ บนถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสร้างเพื่อประทับในช่วงสุดสัปดาห์ และเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมศิลปะและโบราณวัตถุ โดยที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พำนักอยู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ภายหลังจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2502 พระชายา คือ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้มอบให้วังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ และเปิดเป็น พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดตั้งแต่นั้นมา

 

บ้านหม่อมราชวงค์ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์

บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ บนพื้นที่ 5 ไร่ รู้จักกันในนาม บ้านซอยสวนพลู บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันแม้ท่านจะถึงอสัญกรรมไปในปี พ.ศ. 2538 เรือนไม้ของท่านยังคงความร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ด้วยการรักษาดูแลด้วยจิตวิญญาณ พรั่งพร้อมด้วยความทรงจำในอดีตของ ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช ที่มาของเรือนไทย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซื้อเรือนไทยมาจากเทศบาลกรุงเทพฯ ที่ได้เวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ท่านได้ให้นายน้ำเชื่อม เล็กประทุม ผู้รับใช้ใกล้ชิดมานาน ไปเสาะหาเรือนแบบภาคกลางมาอีก 2 หลัง ได้จากบ้านเดิมที่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนำช่างปรุงเรือนมาจากตำบลลาดชะโด อำเภอผักไห่ มาสร้างตามวิธีการสร้างบ้านไทยแบบโบราณ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับ 4 สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่คุณต้องประทับใจอย่างแน่นอน อย่าลืมมาเที่ยวกันนะครับ